การประกวดแกะสลัก โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์การแกะสลักเดิม จากเดิมที่มีอยู่แล้ว และทำการพัฒนาปรับปรุงใหม่ให้ดูทันสมัยและสวยงามยิ่งขึ้น
การประกวดแกะสลัก ที่ได้รับรางวัล วันนี้ทางร้านครกไม้บ้านหลุก baanlook.com จะพาทุกท่านมารู้จักกับผลงานการประกวดแกะสลักซึ่งผลิตภัณฑ์เดิมของร้านประภาสไม้แกะสลัก คือ เชิงเทียนพระประจำวันเกิด ผลิตภัณฑ์เดิมเกิดจากความต้องการของผู้บริโภค ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว มียอดการจำหน่ายอยู่ในระดับดีมาก ผนวกกับความเคารพนับถือ เลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา เป็นลักษณะผลิตภัณฑ์ เชิงวัฒนธรรม (cultural product) จึงทำให้ผลงานการประกวดการแกะสลักของเราได้รับรางวัล
ผลงานการประกวดการแกะสลัก ที่ออกแบบเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ เป็นภาพมุมสูง (high relief) ทำจากวัสดุ สังเคราะห์คือพลาสติกเรซิ่น (resin) สีของผลิตภัณฑ์ เป็นสีในโทนน้ำตาลดำ ใช้แลคเกอร์ด้าน และแว็กซ์ตกแต่งผิวให้มองดูเป็นของโบราณ
Concept of Design แนวคิดในการออกแบบ
- เชิงเทียนพระประจำวันเกิดที่ได้รับการพัฒนารูปแบบนี้ ได้เน้นคุณค่าเชิงวัฒนธรรมมากขึ้นโดยการแกะสลักองค์พระบนแผ่นไมสักให้เป็นชิ้นเดียวกันกับพื้นหลังแทนการใช้วัสดุสังเคราะห์ คือ พลาสติกเรซิ่น เพื่อแสดงคุณค่าของความเป็นหัตกรรม ของท้องถิ่นคือ บ้านหลุก ซึ่งเป็นชุมชนที่แกะสลักไม้มาอย่างยาวนาน
- ปรับเปลี่ยนรูปทรงแผ่นไม้สักพื้นหลังที่ติดองค์พระให้เป็นรูปใบโพธิ์ เพื่อสะท้อนถึงความเป็นผลิตภัณฑ์ เชิงวัฒนธรรมมากขึ้น เนื่องจากใบโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์สำคัญประการหนึ่งที่สะท้อนถึงสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวพุทธ
- ทำพื้นผิวที่แผ่นหลังขององค์พระให้มีมิติมากขึ้น โดยการทำพื้นผิวให้เป็นร่องลึก และผิวหยาบคล้ายผิวหินทราย เพื่อให้เกิดความแตกต่างของพื้นผิวและสร้างจุดเด่น
- ฐานด้านล่างสุดขององค์พระ ปรับเปลี่ยนจากรูปทรงอิสระเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ซึ่งสื่อความหมายถึงคำสอนของพระพุทธศาสนา “นราวาสธรรม4” คือ สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก
- สะท้อนรูปแบบให้แสดงความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น จังหวัดลำปางโดยการแกะร่องลึก เป็นภาพไก่ 2 ตัว ที่ฐานองค์พระ ไก่นี้ดัดแปลงมาจากภาพไก่ที่อยู่บนถ้วยเซรามิกตราไก่ ของจังหวัดลำปาง ใช้สีให้เป็นไก่เงิน ไก่ทอง เพื่อให้มีผลทางโชคลาภเกี่ยวกับเงินทอง
- เซาะผิวร่องลึกบริเวณผิวข้างของฐานองค์พระ เพื่อป้องกันการลื่นขณะหยิบจับ
- ใช้สลักไม้แทนการใช้ตะปู เพื่อเพิ่มคุณค่าของวัสดุคือไม้ ทำสีพื้นผิวโดยการเปลี่ยนสีผลิตภัณฑ์จากโทนเข้ม ให้เป็นโทนอ่อนเพื่อความเด่นชัดขององค์พระ
Packaging Design ออกแบบบรรจุภัณฑ์
- ใช้วัสดุหลักคือกระดาษลูกฟูกเพื่อให้สามารถปกป้อง ผลิตภัณฑ์จากแรงกระแทกโดยเลือกใช้กระดาษลูกฟูกชนิดบางสีน้ำตาลอ่อน เพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นหัตถกรรมท้องถิ่น
- โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนกล่องให้เป็นกล่องตั้งโชว์เพื่อการจำหน่าย และกล่องที่มีหูหิ้วเพื่อให้สะดวกต่อการนำพา
- ด้านหน้ากล่องเจาะเป็นช่องรูปใบโพธิ์ ผสมผสานรูปทรงองค์พระเพื่อให้เห็นผลิตภัณฑ์ด้านในและยังสะท้อนให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมเกี่ยวกับความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
- กราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์เป็นสีโทนน้ำตาลแดง เพื่อให้เห็นถึงความเป็นท้องถิ่น และยังมีข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนบ้านหลุก เพื่อสร้างเนื้อหาเรื่องราว (history of product) แสดงให้เห็นถึงแหล่งผลิตต้นทางของผลิตภัณฑ์นี้
- มีคำอธิบายวิธีการใช้บรรจุภัณฑ์ ในเรื่องการเปิด ปิด และการนำผลิตภัณฑ์ออกจากกล่อง