จำหน่ายครกไม้ ไม้แกะสลัก บ้านหลุก อ.แม่ทะ จ.ลำปาง

วันอาสาฬหบูชา วันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาครั้งแรก

วันอาสาฬหบูชา วันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาครั้งแรก วันสำคัญทางศาสนา มีความเป็นมายังไง และวันนี้สำคัญอย่างไร ไปดูกันจ้า

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ถือเป็นวันที่สำคัญทางศาสนาอีกหนึ่งวัน เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก ที่มีชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี และผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ เป็นเหตุให้เกิดมีสาวกรูปแรกขึ้น คือ พระโกณฑัญญะ 1 ในพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5

พระโกณฑัญญะ ได้ธรรมจักษุ โสดาปัตติมรรคหรือโสดาปัตติมรรคญาณ คือ ญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา ทำให้เห็นความจริงที่ว่า สิ่งใดที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนดับไปเป็นธรรมดา และได้ขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา ทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

เมื่อถึงวันนี้ของทุกปี พุทธศาสนิกชนก็จะนิยมบูชากันเป็นพิเศษ บางแห่งจะเรียกวันอาสาฬหบูชา อีกชื่อว่า วันพระสงฆ์ คำว่าอาสาฬหบูชา มาจากคำว่า อาสาฬหะ คือ เดือน 8 อาสาฬหบูชา คือ การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 8 นั้่นเอง ความสำคัญของวันเพ็ญเดือน 8 ในพุทธประวัติตอนหนึ่งเล่าว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ในวันเพ็ญเดือน 6 พระองค์ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข ในบริเวณโพธิมัณฑ์นั้น ตลอด ๗ สัปดาห์ ดังนี้

  • สัปดาห์ที่ 1 ทรงประทับอยู่ที่ควงไม้อสัตถะ อันเป็นไม้มหาโพธิ์
  • สัปดาห์ที่ 2 เสด็จไปทาง ทิศอีสานของต้นมหาโพธิ์ ประทับยืนกลางแจ้งเพ่งดูไม้มหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตร
  • สัปดาห์ที่ 3 เสด็จไปประทับ อยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสสเจดีย์กับต้นมหาโพธิ์ ทรงจงกรม
  • สัปดาห์ที่ 4 เสด็จไปทาง ทิศพายัพของต้นมหาโพธิ์ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรม
  • สัปดาห์ที่ 5 เสด็จไปทาง ทิศบูรพาของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธ
  • สัปดาห์ที่ 6 เสด็จไปทาง ทิศอาคเนย์ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้จิกเสวยวิมุตติสุข
  • สัปดาห์ที่ 7 เสด็จย้ายสถานที่ ไปทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้เกดเสวยวิมุตติ

มีพานิช 2 คน ชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ ได้นำข้าวสัตตุผงข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงกรังของตน เข้าไปถวายพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงรับเสวยเสร็จแล้ว พานิชทั้งสองคนก็ประกาศตนเป็นอุบาสก นับเป็นอุบาสกคู่แรกในประวัติกาล เมื่อพระองค์เสด็จกลับมาประทับ ที่ควงไม้ไทร ชื่อ อชาปาลนิโครธอีกครั้ง ทรงคำนึงได้ว่า  ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้น ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม จีงท้อพระทัยที่สอน แต่อาศัยพระกรุณาเป็นที่ตั้ง จึงทรงเล็งเห็นว่าโลกนี้ผู้ที่พอจะรู้ตามได้ก็คงมีบุคคล 4 เหล่า เปรียบกับดอกบัว 4 ประเภท คือ

  1. อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำแล้ว เปรียบเหมือนผู้ที่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีในขณะที่มีผู้สอนสั่ง
  2. วิปจิตัญญู ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ เปรียบเหมือนผู้ที่สามารถจะรู้ธรรมวิเศษได้ เมื่อมีผู้ขยายความให้
  3. เนยยะ ดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ เปรียบเหมือนผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงจะรู้ธรรมวิเศษนี้ได้
  4. ปทปรมะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำติดกับเปือกตม เปรียบเหมือนผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่อง แล้วก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้

เมื่อพระองค์ทรงเล็งเห็นเช่นนั้นแล้ว จึงทรงตรัสสินพระทัยว่า ควรโปรดปัญจวัคคีย์ก่อน ก็มุ่งพระพักตร์เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า ใช้เวลาหลายวัน พระพุทธองค์เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี อันเป็นที่อยู่แห่งปัจจวัคคีย์ เมื่อปัญจวัคคีย์เห็นพระองค์เสด็จมาถึง จึงนัดหมายกันว่า จะไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ และไม่รับบาตรจีวร ให้เพียงอาสนะเท่านั้น เพราะเข้าใจว่าพระองค์ กลายเป็นคนมีความมักมาก หมดความเพียรเสียแล้ว ต่างพูดแบบไม่เคารพ

พระองค์ทรงตรัสห้าม และทรงตรัสว่า พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว และจะแสดงธรรมสั่งสอนให้พราหมณ์ทั้ง 5 แต่เหล่าปัญจวัคคีย์ก็ต่างคัดค้าน ลำเลิกด้วยถ้อยค่ำต่างๆ ที่สุดแล้วพระองค์ทรงเตือนให้ระลึกถึงคำที่พระองค์เคยกล่าวมาในหนหลังบ้าง เมื่อพราหมณ์ทั้ง 5 ระลึกได้ จึงได้สงบตั้งใจฟังธรรมทันที รุ่งวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ พระองค์ทรงเริ่มแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร นับเป็นธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่โปรดแก่ปัญจัคคีย์ ใจความของธรรม มี 2 ฝ่าย คือ การประกอบตนให้ลำบากด้วยการทรมานกาย และการไม่ประกอบตนให้เพลิดเพลินในกามสุข แล้วทรงแสดงทางสายกลางคือ อริยมรรค 8 ประการ ได้แก่

  1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
  2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
  3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
  4. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ
  5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
  6. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
  7. สัมมาสติ ระลึกชอบ
  8. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

โดยสรุปด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่

  1. ทุกข์ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
  2. สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
  3. นิโรธความดับทุกข์
  4. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ในขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่นั้น ท่านโกณฑัญญะได้ส่องญาณตามจนเกิด “ธรรมจักษุ” คือดวงตาเห็นธรรมขึ้นทางปัญญา พระองค์ทรงทราบ จึงเปล่งพระอุทานว่า “อัญญสิๆ อัญญสิๆ” แปลว่า โกณฑัญญะรู้แล้วๆเพราะพระองค์ทรงอุทานนี้ ท่านโกณฑัญญะ จึงได้นามใหม่ว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” แต่นั้นก็ทูลขอบรรพชาพระองค์ประทานอนุญาตด้วยเอหิภิขุอุปสัมปทาน นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนา ที่บวชตามพระพุทธองค์ ตามพุทธประวัติ ที่เล่ามานี้ จะเห็นว่า วันอาสาฬหบูชามีความสำคัญ คือ

  1. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้า ทรงประกาศพระศาสนา
  2. เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ประกาศสัจจธรรมอันเป็นองค์แห่งสัมมาสัมโพธิญาณ
  3. เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรก บังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิขุอุปสัมปทานในวันนั้น
  4. เป็นวันแรกที่บังเกิด พระสังฆรัตนะสมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ

การถือปฏิบัติในประเทศไทย

พิธีวันอาสาฬหบูชา มีกำหนดครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2501 โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา ได้เสนอคณะสังฆมนตรี ให้เพิ่มวันศาสนพิธี ทำพุทธบูชาขึ้นอีกวันหนึ่ง คือ วันธรรมจักร หรือวันอาสาฬหบูชา เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร โดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์ กล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา 1 สัปดาห์ให้เจ้าอาวาส แจ้งแก่พระภิกษุสามเณร ตลอดจนศิษย์วัด คนวัด ช่วยกันปัดกวาด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวัน ทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมตามปกติ เวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิตโดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชาจบแล้วทำประทักษิณ

จากนั้นให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยทำวัตรค่ำแล้วสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร จบแล้วให้อุบาสก อุบาสิกาทำวัตรค่ำ ต่อจากนั้นให้พระสังฆเถระแสดงพระธรรมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ให้พระภิกษุสามเณรสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตรทำนองสรภัญญะ เพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชนจบแล้ว ให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศล มีสวดมนต์สนทนาธรรม บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น ตามควรแก่อัธยาศัยให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชา ไม่เกิน เวลา 24.00 น. ได้มีการทำพิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวาง นับแต่นั้นมาทางราชการได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติ ถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วย

เมื่อวันอาสาฬหบูชาเวียนมาบรรจบทุกๆปี  ชาวพุทธทั่วโลกจะมีการประกอบพิธีในวันอาสาฬหบูชาแบ่งออกเป็น 3 พิธีคือ

  1. พิธีหลวง (พระราชพิธี)
  2. พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
  3. พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)

พุทธศาสนิกชน ก็จะเดินทางไปทำบุญตามสถานที่ต่างๆ ตามความเชื่อและความนับถือของแต่ละครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร การถวายสังฆทาน หรือการทำบุญรูปแบบต่างๆตลอดทั้งวัน

ร้านครกไม้บ้านหลุก ส่งเสริมการสร้างบุญของพุทธศาสนิกชน โดยมีการจำหน่าย ครกไม้บ้านหลุก เพื่อใช้บรรจุสิ่งของที่ท่านจะใช้ในการทำบุญ ไม่ว่าจะเป็นของใส่บาตร หรือ สังฆทาน โดยชะลอมที่เป็นที่นิยมนำไปจัดทำของทำบุญจะมี 2 แบบ คือ

  • ครกไม้บ้านหลุกแบบจุก สามารถดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ชะลอมสาน แบบจุก

  • ครกไม้บ้านหลุกแบบหัวใจ สามารถดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ชะลอมหูหิ้ว

 

สามารถเลือกซื้อสินค้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ไม้แกะสลัก ครกไม้ และเครื่องสังฆทาน ได้ที่ร้านครกไม้บ้านหลุก คลิ๊กที่นี่  หากลูกค้าต้องการสั่งซื้อสินค้าที่นอกเหนือจากที่ทางร้านมีจำหน่าย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เพจครกไม้บ้านหลุกดอทคอม คลิ๊กที่นี่ เพื่อสอบถามเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ ในการสั่งทำสินค้าบางชนิดอาจะต้องรอสินค้า 15 – 30 วัน และแต่ความยากง่ายในการจัดทำ

ใส่ความเห็น

Shopping cart

0
image/svg+xml

No products in the cart.

Continue Shopping